3. สายพันธุ์และอายุของสัตว์ปีก
สายพันธุ์และอายุที่แตกต่างมีผลต่อความต้องการน้ำไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ลูกไก่อายุ 1 วัน มีน้ำเป็นองค์ประกอบร่างกาย 85%, แม่ไก่ 55%, ในลูกสุกร มีน้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกาย 80% และสุกรขุน มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 40% จะเห็นได้ว่าเมื่อสัตว์โตขึ้นอัตราส่วนของน้ำในร่างกายจะลดลง
4. แหล่งน้ำที่ใช้ในฟาร์ม: มีทั้งแหล่งน้ำผิวดินและแหล่งน้ำใต้ดิน
แหล่งน้ำผิวดิน เช่น แม่น้ำ หนอง คลอง บึง และอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีการปนเปื้อนตะกอนดิน ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมีอื่น ๆ และมีค่าความขุ่นสูงมากกว่าแหล่งน้ำใต้ดิน เพราะแหล่งน้ำใต้ดิน เป็นน้ำที่อยู่ระหว่างชั้นดินหรือชั้นหิน และผ่านการกรองจากชั้นหินและทรายแล้ว แล้วคุณภาพน้ำสำคัญอย่างไรต่อการใช้ยาละลายน้ำ นอกจากเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์ เป็นตัวช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต และเป็นปัจจัยที่ควบคุมการกินได้ของสัตว์ ดังนั้น น้ำจึงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ได้ของยาด้วยเช่นกัน โดยมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มสำหรับสัตว์ปีก ดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 คุณภาพน้ำดื่มในฟาร์มสำหรับสัตว์ปีก | ||
---|---|---|
พารามิเตอร์ | ระดับสูงสุดที่ยอมรับได้ | หมายเหตุ |
แบคทีเรีย ปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด เชื้อแบคทีเรียโคลิฟอร์ม |
100 cfu/ml 50 cfu/ml |
ต้องไม่พบ ต้องไม่พบ |
สารประกอบไนโตรเจน ไนเตรท ไนไตรท์ |
25-45 mg/l 4 mg/l |
ค่าไนเตรท 3-20 mg/l สมรรถนะการผลิตลดลง |
ค่า pH |
ค่า pH ต่ำกว่า 6.3 สมรรถนะการผลิตลดลง |
|
ความกระด้างของน้ำ |
180 ppm |
ค่าน้อยกว่า 60 ppm คือ น้ำอ่อน ค่ามากกว่า180 ppm คือน้ำกระด้างมาก มีผลต่อการละลายของน้ำยาฆ่าเชื้อและยา |
ส่วนประกอบเคมี แคลเซียม |
600 mg/l |
ระดับแคลเซียมมากกว่า 600 mg/l แสดงถึงการสะสมมากเกินไป |
คลอไรด์ |
250 mg/l |
ค่าคลอไรด์ระดับ 14 mg/l ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ถ้าระดับของโซเดียมสูงกว่า 50 mg/l |
ทองแดง |
0.6 mg/l |
ระดับทองแดงสูงทำให้น้ำมีรสขม |
เหล็ก |
0.3 mg/l |
ระดับของเหล็กสูงส่งผลให้เกิดกลิ่นและรสชาติอันไม่พึงประสงค์ รวมทั้งกระตุ้นการเจริญของจุลินทรีย์ในท่อส่งน้ำ |
ตะกั่ว |
0.02 mg/l |
ค่าสังสีกะสูงกว่า 0.02 mg/l เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์ |
แมกนีเซียม |
125 mg/l |
ระดับของแมกนีเซียมสูง ส่งผลให้สัตว์ท้องเสีย ค่าสูงมากกว่า 50 mg/l จะส่งผลเสียต่อสมรรถนะการผลิต เกิดความเป็นพิษมากขึ้น ถ้ามีค่าซัลเฟตสูงด้วย |
โซเดียม |
50 mg/l |
ค่าโซเดียมสูงมากกว่า 50 mg/l จะส่งผลเสียต่อสมรรถนะการผลิต เกิดความเป็นพิษมากขึ้น ถ้ามีค่าซัลเฟต หรือคลอไรด์สูงด้วย |
ซัลเฟต |
250 mg/l |
ระดับของซัลเฟตสูง ส่งผลให้สัตว์ท้องเสีย เกิดความเป็นพิษมากขึ้น ถ้ามีค่าแมกนีเซียมและคลอไรด์สูงด้วย |
สังกะสี |
1.5 mg/l |
ค่าสังสีกะสูงกว่า 1.5 mg/l เกิดความเป็นพิษต่อสัตว์ |