ที่มา: Mehrotra et al. (2006)
C max: = ระดับความเข้มข้นสูงสุดของยาในพลาสมา มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร
T max: = เวลาสูงสุดของค่า Cmax มีหน่วยเป็นชั่วโมง
AUC = พื้นที่ใต้กราฟ (area under the curve) ระหว่างความเข้มข้นของยาในน้้าเลือดและเวลา มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมชั่วโมงต่อลิตร
ขนาดการให้ยา มีความสำคัญต่อระดับของยาในเลือด ถ้าหากให้ยาขนาดต่ำเกินไปมีผลทำให้ระดับยาในเลือดอยู่ในระดับที่ไม่สามารถออกฤทธิ์ต่อเชื้อได้ ทำให้การรักษาโรคนั้นไม่ได้ผล หรือถ้าหากใช้ยาในขนาดที่สูงเกินขนาด นอกจากจะเกิดประโยชน์ในด้านให้ผลการรักษายังเกิดอันตรายต่อร่างกายสัตว์ได้ ขนาดการใช้ยาที่ถูกต้อง แม่นยำ รู้ได้อย่างไร
ยกตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ยา MOXYGUARD SP
ส่วนประกอบ: 1 กิโลกรัม ประกอบด้วย Amoxicillin trihydrate 800 กรัม เทียบเท่ากับ Amoxicillin 697 กรัม
ขนาดและวิธีการใช้ยา:
ไก่: ขนาดการให้ยา Amoxicillin base 8-16 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน หรือต้องใช้ผลิตภัณฑ์ยา MOXYGUARD SP 10-20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องใช้ปริมาณยา หรือปริมาณน้ำที่ใช้ละลาย และจำนวนสัตว์ที่ต้องได้รับยาเท่าไร
- เราจะต้องรู้ความต้องการของยาในสัตว์แต่ช่วงอายุ เพราะถ้าเราคำนวณการใช้ยาโดยดูจากค่ามาตรฐานของปริมาณน้ำที่สัตว์กินนั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะสัตว์ที่อายุน้อยอาจจะได้รับยาในระดับที่มากเกินไป หรือระดับยาอาจจะไม่เพียงพอต่อการรักษาโรคของสัตว์ที่อายุมาก
- ปริมาณการกินน้ำกินอาหารของสัตว์มีความผันแปรและมีอิทธิพลจากหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สภาวะสัตว์ป่วย สภาพแวดล้อม รสชาติยา และน้ำหนักตัว เป็นต้น
ดังนั้นการคำนวณปริมาณยาที่สัตว์ต้องได้รับให้คิดจากน้ำหนักตัว ขนาดการใช้ยาที่สัตว์ต้องได้รับในแต่ละวัน และปริมาณน้ำหรืออาหารที่สัตว์กิน คำนวณได้จากสูตร ดังนี้
ปริมาณมิลลิกรัมยา/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ตามที่ระบุในฉลาก X น้ำหนักเฉลี่ยของสัตว์ (กิโลกรัม) =มก.ผลิตภัณฑ์ยา/ปริมาณน้ำ 1 ลิตร
หารค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำที่สัตว์ดื่มในแต่ละวัน (ลิตร)
ทำไมขนาดการใช้ยาที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ?
1.ความสำเร็จในการรักษาโรคสัตว์ ขึ้นอยู่กับจำนวนของยาต่อความต้องการยาในแต่ละวัน
2.Recommended dosages มีความสัมพันธ์กับการออกฤทธ์ยับยั้งหรือฆ่าทำลายเชื้อแบคทีเรียนั้นได้
3.ขนาดที่ให้ยา และความถี่ของการให้ยา ต้องเพียงพอเพื่อให้ยามีความเข้มข้นในเลือดสูงพอที่จะให้ผลในการรักษาโรคได้
4.ช่วยป้องกันเชื้อดื้อยา
สรุป : การใช้ยาต้านจุลชีพให้ได้ผลการรักษาดีนั้น ต้องคำนึงถึง 3 ประการที่สำคัญ คือ เลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรค ใช้ขนาดที่ถูกต้อง และความถี่ในการให้ยาต้องสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาที่ให้ยา