แนวทางจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคบิด
โรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงไก่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะ ไก่อยู่สบาย มีระบบระบายอากาศที่ดี รวมทั้งจัดการระบบให้อาหารและน้ำแบบอัตโนมัติไม่ให้หกหล่นลงสู่วัสดุรองพื้นหรือแกลบ และต้องดูแลวัสดุรองพื้นให้แห้งอยู่สม่ำเสมอ หรือเปลี่ยนวัสดุรองพื้นเมื่อเปียกชื้นมาก ซึ่งระดับความชื้นที่เหมาะสมของวัสดุรองพื้นต้องไม่เกิน 40% เพื่อไม่ก่อให้เกิดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการคงตัวอยู่ของโอโอซิสต์ และเจริญเป็นโอโอซิสต์ตัวแก่และก่อโรค
แนวทางป้องกัน
การป้องกันโดยการใช้วัคซีนเชื้อเป็นกำลังเป็นที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ ใช้อย่างแพร่หลายในไก่พันธุ์ และเริ่มมีใช้บางในไก่ไข่และไก่เนื้อ เมื่อการใช้ยากันบิดผสมในอาหารไม่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมโรค สาเหตุเนื่องจากไก่ป่วยจะกินอาหารลดลง ทำให้ได้รับยาต้านบิดต่ำกว่าปริมาณที่สามารถควบคุมและกำจัดโรคได้ ชนิดของยาป้องกันโรคบิดในอาหาร มีอยู่หลายกลุ่ม เช่น Ionophores (Monensin, Narasin, Salinamycin, Lasalocid, Maduramicin) Quinolones, Sulfonamides, Thiamine derivatives เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันโดยการใช้วัคซีนและยาผสมอาหารก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ดังแสดงในตารางที่ 2 และ 3
แนวทางการรักษา
การรักษาโรคบิดต้องเริ่มตั้งแต่ไก่เริ่มป่วยจึงจะได้ผลดี โดยการให้ยาปฏิชีวนะ ให้โดยการละลายน้ำ ปฏิบัติไปพร้อมๆ กับการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานภายในฟาร์มที่ดี เพื่อลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค หรือโอโอซิสต์ของเชื้อบิด
ตารางที่ 2 ข้อดีและข้อเสียของการป้องกันโรคบิดโดยการให้วัคซีน | |
---|---|
ข้อดีของการให้วัคซีน | ข้อเสียของการใช้วัคซีน |
- ไม่ต้องมีระยะหยุดยา - ไม่มีสารตกค้าง - สะดวกต่อการใช้ เพราะสามารถใช้ได้หลายวิธี เช่น ละลายน้ำ หยอดตา หยอดปาก หรือพ่นเป็นละออง เข้าตา เป็นต้น -ใช้ทดแทนเมื่อใช้ยาต้านบิด ในกรณีที่เชื้อเกิดการดื้อยา |
- วัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันเฉพาะเชื้ออัยเมอเรียชนิดที่มีวัคซีนเท่านั้น - ต้องเป็นวัคซีนชนิดแรง จะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี - มีราคาสูงกว่ายา - การใช้วัคซีนจะไม่ได้ผลดี เมื่อให้ร่วมกับอาหารสำเร็จรูปที่มีการผสมยาต้านบิด |
ตารางที่ 3 ข้อดีและข้อเสียของการป้องกันโรคบิดโดยการให้ยาปฏิชีวนะ | |
---|---|
ข้อดีของการให้วัคซีน | ข้อเสียของการใช้วัคซีน |
- ยา 1 ชนิด สามารถป้องกันเชื้อบิดได้หลายชนิด - สะดวกต่อการใช้ เนื่องจากยาถูกผสมในอาหารสำเร็จรูป |
- ต้องมีระยะหยุดยา เพราะยาหลายชนิด อาจก่อให้เกิดปัญหาของสารตกค้าง - การใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันนานๆ ผลทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้ - ยาต้านบิดและยาปฏิชีวนะบางชนิดให้ร่วมกันไม่ได้ - ยาป้องกันโรคบิดหลายชนิดมีความเป็นพิษต่อสัตว์ชนิดอื่น |
จากข้อมูลในข้างต้นต้องพิจารณาถึงความจำเป็น และพื้นฐานของแต่ละฟาร์มในการเลือกใช้ยาหรือวัคซีนในการรักษาและป้องกันโรค แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันการใช้ยากันบิดได้ลดน้อยลงไป และอาจมีการห้ามยาทุกชนิดผสมอาหารในอนาคต